วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

สงครามจีน - ญี่ปุ่นครั้งที่ 2



              สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (อังกฤษ: Second Sino-Japanese War ; จีน: 中国抗日战争 ; ญี่ปุ่น: 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในศริสต์ศวรรษที่ 20 

               ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้

               ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง พ.ศ. 2484 จีนต้องต่อสู้กับญี่ปุ่นโดยลำพัง กระทั่งญี่ปุ่นได้โจมตี
ฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาเบอร์ อันเป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมสงคราม ทำให้สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สองขยายวงกว้างเป็นสงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด

ภูมิหลัง

              ความเป็นมาของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สามารถมองย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้ง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2438 ซึ่งประเทศจีนในสมัยนั้น ปกครองโดยจักรพรรดิราชวงศ์ชิง พ่ายแพ้สงครามแก่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำต้องทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ ซึ่งมีผลบังคับให้จีนต้องยกดินแดนเผิงหูและคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ญี่ปุ่น และต้องรับรองเอกราชแก่เกาหลี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตกต่ำอย่างยิ่ง ทั้งจากเหตุการณ์จลาจลภายในประเทศ และภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมภายนอกประเทศ ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นสามารถรวบรวมอำนาจภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

                                                       

                       เจียงไคเช็คผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจีนเป็นผู้วางแนวรบป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น





               กระทั่งมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นในปี พ.ศ. 2455 หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ทำให้ขุนศึกบางคนต้องใช้นโยบายใกล้ชิดกับต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ขุนศึก จาง จัวหลิน แห่งแมนจูเรีย ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ในเรื่องความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางทหาร

              ในปี พ.ศ. 2458 ญี่ปุ่นได้ประกาศความต้องการ 21 ประการ ในการรีดบังคับทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากจีน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนเขตอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันในเขตมณฑลชานตง ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในแผ่นดินจีน แต่กระนั้นรัฐบาลจีนในขณะนั้น ยังคงแตกความร่วมมือกันอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานการบุกรุกล้ำดินแดนของญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการรวบรวมจีนและกำจัดเหล่าขุนศึกตามท้องถิ่นให้หมดสิ้นไป พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกวางโจว ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ออกเดินทางไกลขึ้นเหนือ ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า“วิกฤตการณ์จี๋หนาน”สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน

              ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481

              อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก”

 
มูลเหตุของสงคราม

การรุกรานแมนจูเรีย การแทรกแซงในจีน

              สถานการณ์ภายในของจีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถดำเนินนโยบายรุกรานแมนจูเรียได้โดยสะดวก ญี่ปุ่นเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ เช่น ดินแดนแมนจูเรียมีทรัพยากรทางธรรมชาติและวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมมหาศาล และสามารถเป็นแหล่งกระจายสินค้าของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นรัฐกันชนระหว่างญี่ปุ่นกับดินแดนไซบีเรียของสหภาพโซเวียต

              ญี่ปุ่นจึงเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผยภายหลัง
กรณีมุกเดน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 หลังจากการประทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม รัฐบาลจีนไม่สามารถตอบโต้ทางทหารได้ จึงร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ

              สันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรีย ทำให้ญี่ปุ่นขอถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติโดยสิ้นเชิง แต่ก็ยังไม่มีชาติใดกล้าดำเนินนโนบายตอบโต้ทางทหารอย่างชัดเจนแก่ญี่ปุ่น

              ภายหลังจากกรณีมุกเดน เกิดการประทะกันอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2475 กำลังทหารของจีนและญี่ปุ่นได้เปิดการประทะกันใน
กรณี 28 มกราคม ผลจากการประทะกันครั้งนี้ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้น ทำให้ทางกองทัพจีนไม่สามารถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้ ทางด้านแมนจูกัวญี่ปุ่นพยายามดำเนินตามนโยบายของตนในการทำลายกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง

              ในปี พ.ศ. 2476 ญี่ปุ่น
เข้าโจมตีบริเวณกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ให้อำนาจญี่ปุ่นมีเหนือดินแดนเร่อเหอ อีกทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนกับเมืองปักกิ่ง - เทียนจิน ในจุดนี้ญี่ปุ่นพยายามจะจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นอีกหนึ่งแห่งระหว่างดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีนที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่นานกิง

                                                          

                            กองทัพกวนตงขณะเดินทางเข้ายึดเมืองเสิ่นหยางในเหตุการณ์กรณีมุกเดน



                ญี่ปุ่นพยายามยุยงให้มีความแตกแยกภายในกันเองของจีน เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของจีนให้อ่อนแอลง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่อนของรัฐบาลแห่งชาติดีว่า ภายหลังการเดินการขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีน อำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่เฉพาะในดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเท่านั้น หากแต่ดินแดนในส่วนอื่นนั้นยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนศึกท้องถิ่นอยู่ ญี่ปุ่นจึงพยายามผูกไมตรีและให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าขุนศึกท้องถิ่นในการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นโดยให้เป็นไมตรีกับญี่ปุ่น ดินแดนเหล่านี้ได้แก่ ฉาเห่ย์ สุยหย่วน เหอเป่ย์ ซานซี และซานตง

                นโยบายของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในดินแดนที่ปัจจุบันคือบริเวณมองโกเลียในและมณฑลเหอเป่ย์ ในปี พ.ศ. 2478 ญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลจีนยอมลงนามในข้อตกลงเหอ-อุเมะซุ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามมิให้รัฐบาลก็กมินตั๋งเข้าไปมีอำนาจปกครองในมณฑลเหอเป่ย์ ในปีเดียวกันจีนจำต้องลงนามในข้อตกลงชิน-โดะอิฮะระอีกฉบับหนึ่ง เป็นการกำจัดอำนาจของรัฐบาลก็กมินตั๋งออกจากฉาเห่ย์ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา รัฐบาลแห่งชาติจีนจึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนดังกล่าวอีกต่อไป ญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาปกครองตนเองเหอเป่ย์ตะวันออกขึ้น ซึ่งต่อมาทางการญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสถานะการปกครองใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นเหม่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดแห่งที่สองโดยได้ส่งเจ้าชายมองโกลเดมชูงดอมรอปช์ไปปกครองและให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจ ทางด้านจีนได้มีการจัดตั้งกองอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น ญี่ปุ่นจึงเริ่มเข้ารุกรานแมนจูเรียและในฉาเห่ย์ สุยหย่วน

การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว



            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากได้ระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 ตั้งแต่เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล เมื่อสงครามรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเมืองปักกิ่งถูกโจมตีโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเนื่องจากกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนที่มีการรับมือแบบไม่มีประสิทธิภาพทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองเป่ยผิงแลเทียนจินอย่างง่ายดาย
              ศูนย์กองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในโตเกียวได้เริ่มลังเลถึงการขยายความขัดแย้งที่เข้าสู่สงครามเต็มตัวเป็นความเห็นด้วยที่มีชัยชนะเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือของจีนต่อไปนี้เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางจีนได้กำหนดว่า"จุดแตกหัก"ของการรุกรานของญี่ปุ่นได้รับถึงและ เจียงไคเชกได้ระดมกองทัพอย่างรวดเร็วของรัฐบาลกลางและได้เริ่มการพัฒนากองทัพอากาศจีนคณะชาติภายใต้คำสั่งโดยตรงของเขาในการโจมตีกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้เมื่อ 13 สิงหาคม 1937 ซึ่งนำไปสู่การยุทธการเซี่ยงไฮ้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีการระดมกำลังทหารกว่า 200,000 ควบคู่กับกองเรือและเครื่องบินจำนวนมากในการยึดเซี่ยงไฮ้หลังจากเกินสามเดือนของการต่อสู้ที่รุนแรงกับความสูญเสียที่ไกลเกินความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้นทำให้สร้างความยากลำบากในการที่จะยึดเซี่ยงไฮ้. กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองนานกิงเมืองหลวงของรัฐบาลกลางจีนและส่านซีตอนเหนือโดยปลายปี ค.ศ. 1937 ในสงครามที่เกี่ยวข้องกับทหารจำนวน 350,000 คนของญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารของแมนจูกัว

                 นักประวัติศาสตร์ได้ประมาณการชาวจีนถึง 300,000 คนที่ถูกสังหารหมู่ใน
การสังหารหมู่นานกิงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของเมืองนานกิง ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางคนได้แก้ไขปรับปรุงประวัติศาสตร์ซึ่งได้ปฏิเสธการสังหารหมู่ของญี่ปุ่น

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E2%80%93%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น