วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

สงครามจีน - ญี่ปุ่นครั้งที่ 2



              สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (อังกฤษ: Second Sino-Japanese War ; จีน: 中国抗日战争 ; ญี่ปุ่น: 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในศริสต์ศวรรษที่ 20 

               ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้

               ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง พ.ศ. 2484 จีนต้องต่อสู้กับญี่ปุ่นโดยลำพัง กระทั่งญี่ปุ่นได้โจมตี
ฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาเบอร์ อันเป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมสงคราม ทำให้สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สองขยายวงกว้างเป็นสงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด

ภูมิหลัง

              ความเป็นมาของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สามารถมองย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้ง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2438 ซึ่งประเทศจีนในสมัยนั้น ปกครองโดยจักรพรรดิราชวงศ์ชิง พ่ายแพ้สงครามแก่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำต้องทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ ซึ่งมีผลบังคับให้จีนต้องยกดินแดนเผิงหูและคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ญี่ปุ่น และต้องรับรองเอกราชแก่เกาหลี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตกต่ำอย่างยิ่ง ทั้งจากเหตุการณ์จลาจลภายในประเทศ และภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมภายนอกประเทศ ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นสามารถรวบรวมอำนาจภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

                                                       

                       เจียงไคเช็คผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจีนเป็นผู้วางแนวรบป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น





               กระทั่งมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นในปี พ.ศ. 2455 หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ทำให้ขุนศึกบางคนต้องใช้นโยบายใกล้ชิดกับต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ขุนศึก จาง จัวหลิน แห่งแมนจูเรีย ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ในเรื่องความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางทหาร

              ในปี พ.ศ. 2458 ญี่ปุ่นได้ประกาศความต้องการ 21 ประการ ในการรีดบังคับทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากจีน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนเขตอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันในเขตมณฑลชานตง ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในแผ่นดินจีน แต่กระนั้นรัฐบาลจีนในขณะนั้น ยังคงแตกความร่วมมือกันอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานการบุกรุกล้ำดินแดนของญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการรวบรวมจีนและกำจัดเหล่าขุนศึกตามท้องถิ่นให้หมดสิ้นไป พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกวางโจว ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ออกเดินทางไกลขึ้นเหนือ ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า“วิกฤตการณ์จี๋หนาน”สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน

              ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481

              อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก”

 
มูลเหตุของสงคราม

การรุกรานแมนจูเรีย การแทรกแซงในจีน

              สถานการณ์ภายในของจีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถดำเนินนโยบายรุกรานแมนจูเรียได้โดยสะดวก ญี่ปุ่นเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ เช่น ดินแดนแมนจูเรียมีทรัพยากรทางธรรมชาติและวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมมหาศาล และสามารถเป็นแหล่งกระจายสินค้าของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นรัฐกันชนระหว่างญี่ปุ่นกับดินแดนไซบีเรียของสหภาพโซเวียต

              ญี่ปุ่นจึงเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผยภายหลัง
กรณีมุกเดน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 หลังจากการประทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม รัฐบาลจีนไม่สามารถตอบโต้ทางทหารได้ จึงร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ

              สันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรีย ทำให้ญี่ปุ่นขอถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติโดยสิ้นเชิง แต่ก็ยังไม่มีชาติใดกล้าดำเนินนโนบายตอบโต้ทางทหารอย่างชัดเจนแก่ญี่ปุ่น

              ภายหลังจากกรณีมุกเดน เกิดการประทะกันอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2475 กำลังทหารของจีนและญี่ปุ่นได้เปิดการประทะกันใน
กรณี 28 มกราคม ผลจากการประทะกันครั้งนี้ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้น ทำให้ทางกองทัพจีนไม่สามารถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้ ทางด้านแมนจูกัวญี่ปุ่นพยายามดำเนินตามนโยบายของตนในการทำลายกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง

              ในปี พ.ศ. 2476 ญี่ปุ่น
เข้าโจมตีบริเวณกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ให้อำนาจญี่ปุ่นมีเหนือดินแดนเร่อเหอ อีกทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนกับเมืองปักกิ่ง - เทียนจิน ในจุดนี้ญี่ปุ่นพยายามจะจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นอีกหนึ่งแห่งระหว่างดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีนที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่นานกิง

                                                          

                            กองทัพกวนตงขณะเดินทางเข้ายึดเมืองเสิ่นหยางในเหตุการณ์กรณีมุกเดน



                ญี่ปุ่นพยายามยุยงให้มีความแตกแยกภายในกันเองของจีน เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของจีนให้อ่อนแอลง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่อนของรัฐบาลแห่งชาติดีว่า ภายหลังการเดินการขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีน อำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่เฉพาะในดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเท่านั้น หากแต่ดินแดนในส่วนอื่นนั้นยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนศึกท้องถิ่นอยู่ ญี่ปุ่นจึงพยายามผูกไมตรีและให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าขุนศึกท้องถิ่นในการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นโดยให้เป็นไมตรีกับญี่ปุ่น ดินแดนเหล่านี้ได้แก่ ฉาเห่ย์ สุยหย่วน เหอเป่ย์ ซานซี และซานตง

                นโยบายของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในดินแดนที่ปัจจุบันคือบริเวณมองโกเลียในและมณฑลเหอเป่ย์ ในปี พ.ศ. 2478 ญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลจีนยอมลงนามในข้อตกลงเหอ-อุเมะซุ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามมิให้รัฐบาลก็กมินตั๋งเข้าไปมีอำนาจปกครองในมณฑลเหอเป่ย์ ในปีเดียวกันจีนจำต้องลงนามในข้อตกลงชิน-โดะอิฮะระอีกฉบับหนึ่ง เป็นการกำจัดอำนาจของรัฐบาลก็กมินตั๋งออกจากฉาเห่ย์ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา รัฐบาลแห่งชาติจีนจึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนดังกล่าวอีกต่อไป ญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาปกครองตนเองเหอเป่ย์ตะวันออกขึ้น ซึ่งต่อมาทางการญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสถานะการปกครองใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นเหม่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดแห่งที่สองโดยได้ส่งเจ้าชายมองโกลเดมชูงดอมรอปช์ไปปกครองและให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจ ทางด้านจีนได้มีการจัดตั้งกองอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น ญี่ปุ่นจึงเริ่มเข้ารุกรานแมนจูเรียและในฉาเห่ย์ สุยหย่วน

การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว



            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากได้ระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 ตั้งแต่เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล เมื่อสงครามรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเมืองปักกิ่งถูกโจมตีโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเนื่องจากกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนที่มีการรับมือแบบไม่มีประสิทธิภาพทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองเป่ยผิงแลเทียนจินอย่างง่ายดาย
              ศูนย์กองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในโตเกียวได้เริ่มลังเลถึงการขยายความขัดแย้งที่เข้าสู่สงครามเต็มตัวเป็นความเห็นด้วยที่มีชัยชนะเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือของจีนต่อไปนี้เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางจีนได้กำหนดว่า"จุดแตกหัก"ของการรุกรานของญี่ปุ่นได้รับถึงและ เจียงไคเชกได้ระดมกองทัพอย่างรวดเร็วของรัฐบาลกลางและได้เริ่มการพัฒนากองทัพอากาศจีนคณะชาติภายใต้คำสั่งโดยตรงของเขาในการโจมตีกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้เมื่อ 13 สิงหาคม 1937 ซึ่งนำไปสู่การยุทธการเซี่ยงไฮ้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีการระดมกำลังทหารกว่า 200,000 ควบคู่กับกองเรือและเครื่องบินจำนวนมากในการยึดเซี่ยงไฮ้หลังจากเกินสามเดือนของการต่อสู้ที่รุนแรงกับความสูญเสียที่ไกลเกินความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้นทำให้สร้างความยากลำบากในการที่จะยึดเซี่ยงไฮ้. กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองนานกิงเมืองหลวงของรัฐบาลกลางจีนและส่านซีตอนเหนือโดยปลายปี ค.ศ. 1937 ในสงครามที่เกี่ยวข้องกับทหารจำนวน 350,000 คนของญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารของแมนจูกัว

                 นักประวัติศาสตร์ได้ประมาณการชาวจีนถึง 300,000 คนที่ถูกสังหารหมู่ใน
การสังหารหมู่นานกิงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของเมืองนานกิง ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางคนได้แก้ไขปรับปรุงประวัติศาสตร์ซึ่งได้ปฏิเสธการสังหารหมู่ของญี่ปุ่น

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E2%80%93%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87





จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1

              จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 (ฝรั่งเศส: L'Empire des Français; ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์ แปลว่า จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส) ยังรู้จักกันในนาม มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดินโปเลียน โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากในทวีปยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเปลี่ยนผ่านมาจากคณะกงสุลแห่งฝรั่งเศส (French Consulate) จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว

                                                        
 ธง
 
                                                                        
                                                                        ตราแผ่นดิน




ประวัติศาสตร์

              ในปี ค.ศ. 1804 นโปเลียน โบนาปาร์ต หนึ่งในสามผู้นำของคณะกงสุลแห่งฝรั่งเศส ได้ปราบดาภิเษกตนเองเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิและเริ่มต้นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 (First Empire) จักรพรรดินโปเลียนทรงปรับปรุงกองทัพฝรั่งเศสเป็น "กองทัพใหญ่" (Grand Armée) ในปี ค.ศ. 1805 การประกาศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิทำให้ชาติต่างๆ รวมตัวกันอีกครั้งเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 (Third Coaltion) จักรพรรดินโปเลียนทรงนำทัพบุกเยอรมนี ชนะกองทัพออสเตรียที่อุล์ม แต่ทางทะเลต้องพ่ายแพ้อังกฤษที่แหลมทราฟัลการ์ในยุทธนาวีทราฟัลการ์ ชัยชนะที่อุล์มทำให้จักรพรรดินโปเลียนทรงรุกคืบเข้าไปในออสเตรีย และชนะออสเตรียกับรัสเซียที่เอาสเทอร์ลิทซ์ เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ทำให้สัมพันธมิตรครั้งที่ 3 สลายตัวด้วยสนธิสัญญาเพรสบูร์ก (Treaty of Pressburg) ผลของสนธิสัญญาคือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องล่มสลายไป พระเจ้านโปเลียนตั้งสมาพันธรัฐแห่งไรน์ (Confederation of the Rhine) ขึ้นมาแทนที่ ยังผลให้สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องเปลี่ยนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ซึ่งในช่วงต้นของสงครามกับนานาประเทศ ฝรั่งเศสบุกชนะในหลายประเทศอาทิเช่น ออสเตรีย, ปรัสเซีย, โปรตุเกสและชาติสัมพันธมิตรชาติอื่น ๆ อีกทั้งยังยึดครองดินแดนในทวีปยุโรปไว้ได้มากมาย

              ความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมนี ทำให้ปรัสเซียร่วมกับอังกฤษและรัสเซียตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่ 4 (Fourth Coalition) แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมายให้การสนับสนุน จักรพรรดินโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซียชนะที่เยนา-เออร์ชเตดท์ และชนะรัสเซียที่ฟรีดแลนด์ ทำให้เกิดสนธิสัญญาแห่งทิลซิต (Treaty of Tilsit) ที่ยุติสองปีแห่งการนองเลือดของทวีปยุโรปลงในปี ค.ศ. 1807 จากสนธิสัญญานี้ทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็นแกรนด์ดัชชีวอร์ซอว์ (Grand Duchy of Warsaw) และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดอังกฤษทางการค้าจากผืนทวีปยุโรป แต่สองประเทศ คือสวีเดนและโปรตุเกส เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป จักรพรรดินโปเลียนบุกโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1807 และก็ทรงฉวยโอกาสยึดสเปนมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งสเปน จากราชวงศ์บูร์บง มาให้พระอนุชาคือ โจเซฟ โบนาปาร์ต เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปน โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยินยอม จึงทำสงครามคาบสมุทร (Peninsula War) ต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร ทางราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ส่งดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington) มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1809 ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 5 (Fifth Coalition) จักรพรรดินโปเลียนทรงนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง และวากราม จนทำเกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์ (Treaty of Schönbrunn) ทำให้ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียนอภิเษกกับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย

               ต่อมา จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงทำสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1812 จักรพรรดินโปเลียนจึงได้นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าทำสงครามอีกครั้งโดยครั้งนี้พระองค์ต้องการจะบุกไปรุกรานจักรวรรดิรัสเซีย ที่หลอกล่อให้กองทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย ซึ่งมีระยะทางยาวไกลจากกรุงปารีสมาก โดยใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะบุกตีหัวเมืองต่าง ๆ ของรัสเซียไปจนถึงกรุงมอสโก แต่เมื่อไปถึงยังกรุงมอสโกก็ต้องพบกลับความว่างเปล่าของเมืองที่ชาวเมืองพร้อมใจกันเผาเมืองเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือกองทัพฝรั่งเศสและอพยพถอยร่นไปทางตะวันออก ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่างๆให้รวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 6 (Sixth Coalition) เอาชนะนโปเลียนในยุทธการไลพ์ซิก (Battle of Leipzig) ทำให้ในปี ค.ศ. 1813 จักรพรรดินโปเลียนจำใจต้องยกทัพกลับฝรั่งเศสแม้เสบียงจะเหลือไม่มากแล้ว กองทัพเองก็เหนื่อยล้าจากการเดินทางอันยาวไกล นอกจากนี้ฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียก็คืบคลานเข้ามาทุกขณะ โดยในระหว่างทางถอยทัพกลับฝรั่งเศสก็ยังถูกกองทัพของรัสเซียและชาติสัมพันธมิตรซุ่มโจมตีในลักษณะกองโจร ซึ่งเมื่อถอยทัพกลับถึงกรุงปารีสก็เหลือพลทหารไม่กี่พันคนจากที่ยกทัพไปมากกว่า 600,000 คน ทั้งนี้เป็นผลมากจากฤดูหนาวที่โหดร้ายทารุณทำให้ทหารแข็งตาย การขาดแคลนอาหาร การที่เหนื่อยล้าจากการเดินทัพและการซุ่มโจมตีของรัสเซีย ฝรั่งเศสจึงพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้จักรพรรดินโปเลียนต้องสละราชสมบัติเพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1814 และสัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำสนธิสัญญาฟองแตงโบล (Treaty of Fontainebleau) ทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 สิ้นสุดลง แต่ต่อมาก็เกิดจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 อยู่นานหนึ่งร้อยวัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงต้องสละราชสมบัติอีกครั้งจากการที่พ่ายแพ้ในยุทธภูมิวอร์เตอร์ลู (Battle of Waterloo) และถูกเนรเทศออกนอกฝรั่งเศสไปยังเกาะเอลบาในอิตาลี ต่อมาจึงมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงและเข้าสู่ยุคราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_1















จักรวรรดิออสเตรีย



              จักรวรรดิออสเตรีย (อังกฤษ: Austrian Empire; เยอรมัน: Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง ค.ศ. 1804 จนถึง ค.ศ. 1867 แล้วถูกรวมกับราชวงศ์ฮังการีและก่อตั้งเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ค.ศ. 1867 ถึง ค.ศ. 1918) และสลายตัวลงเป็นอาณาจักรย่อยเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง

               คำว่า “จักรวรรดิออสเตรีย” ใช้สำหรับดินแดนที่เป็นของ
ราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1804 แต่ไม่ใช่ชื่อทางการทางการ โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้คำว่า “ออสเตรีย” มากกว่า บางครั้งใช้คำว่าออสเตรีย-ฮังการีแต่เป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง

               จักรวรรดิออสเตรียก่อตั้งในปี ค.ศ. 1804 โดย
จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาจึงเฉลิมพระนามเป็นจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย ได้รวบรวมดินแดนมาจากที่ดินส่วนพระองค์และดินแดนของจักรวรรดิ เพื่อตอบโต้การที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงประกาศก่อตั้งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ขึ้นในปีเดียวกันนั้น

               

                                                          
                                                                               ธง

                                                         
                                                                         ตราแผ่นดิน


                หลังจากนั้นออสเตรียและบางส่วนของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็รวมตัวกันต่อต้านฝรั่งเศสและพันธมิตรเยอรมันระหว่างสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 (Third Coalition) ที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้อย่างยับเยินในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ (Battle of Austerlitz) เมื่อต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1805 เมื่อมาถึงวันที่ 4 ธันวาคมก็มีการยุติการสู้รบและเริ่มมีการเจรจาสงบศึกในที่ไม่ไกลนัก

                ต่อมาจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ต้องทรงจำยอมตกลงใน
สนธิสัญญาเพรสส์บูร์ก (Treaty of Pressburg) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1805) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เท่ากับเป็นการยุบเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อันเป็นจักรวรรดิที่รุ่งเรืองมาเป็นเวลานานโดยการจัดระบบการปกครองของรัฐในเยอรมนีภาพใต้อิทธิพลของนโปเลียน ที่เป็นการเริ่มต้นของอาณาบริเวณที่ใกล้เคียงกับอาณาบริเวณของประเทศเยอรมนีสมัยใหม่ ดินแดนของออสเตรียในเยอรมนีตกไปเป็นของพันธมิตรของฝรั่งเศส ได้แก่ พระมหากษัตริย์บาวาเรีย พระมหากษัตริย์เวือร์ทเทมแบร์ก และรัฐผู้คัดเลือกบาเดิน ออสเตรียต้องสละดินแดนในเยอรมนีทั้งหมดโดยไม่มีข้อแม้

                 แปดเดือนหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ก็ทรงยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากการก่อตั้ง
สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Confederation of the Rhine) โดยฝรั่งเศส เพราะไม่มีพระประสงค์จะให้นโปเลียนมาครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ ในขณะเดียวกันพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรผู้ทรงเป็นผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเวอร์ผู้ทรงเสียดินแดนในบริเวณรัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวก์-ลือเนบูร์กแก่นโปเลียนด้วยเช่นกัน ก็ไม่ทรงยอมรับการกระทำของฝรั่งเศส ฝ่ายอังกฤษตอบโต้โดยการก่อตั้งราชอาณาจักรฮันโนเวอร์ที่ปกครองต่อมาจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรขึ้นครองราชสมบัติราชอาณาจักรฮันโนเวอร์ก็แยกตัวจากการปกครองโดยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

              แม้ว่าการเป็น
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จะเป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ราชวงศ์ฮับส์บูร์กก็ดำรงตำแหน่งนี้มาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1440 จะมีขาดก็เป็นเพียงบางช่วง และออสเตรียก็เป็นหัวใจของอาณาบริเวณที่เป็นจักรวรรดิ

              จักรวรรดิออสเตรียเดิมมิได้รวม
ราชอาณาจักรฮังการี และดินแดนอิสระอื่น ๆ ที่ราชวงศ์ฮับส์บูร์กปกครองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1541 ฮังการีมาถูกผนวกหลังจากการพ่ายแพ้ในการปฏิวัติระหว่างปี                ค.ศ.1848/1849 แต่ก็เป็นปัญหาต่อมาเมื่อฮังการีเรียกร้องให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญโดยการไม่ยอมสวมมงกุฎให้จักรพรรดิฟรันซ์ โจเซฟป็นพระมหากษัตริย์ฮังการี หลังจากออสเตรียพ่ายแพ้ในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี ค.ศ. 1866 และแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐเยอรมันแล้ว จักรวรรดิออสเตรียจึงได้เปลี่ยนมาเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีโดยข้อตกลงออสเตรีย-ฮังการี ค.ศ. 1867ที่ทำให้ฮังการีและดินแดนในการปกครองมีฐานะเท่าเทียมกับออสเตรียทั้งหมด


อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2







จักรวรรดิเยอรมัน



             จักรวรรดิเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Reich, Deutsches Kaiserreich (ไม่เป็นทางการ); อังกฤษ: German Empire) เป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อหมายถึงรัฐเยอรมันในช่วงตั้งแต่การประกาศเป็นจักรพรรดิเยอรมันของวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย (18 มกราคม พ.ศ. 2414) ถึงการสละราชสมบัติของวิลเฮล์มที่ 2  (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461) รวมเวลา 47 ปี.

              ชื่ออย่างเป็นทางการของรัฐดังกล่าว ในภาษาเยอรมัน คือ
Deutsches Reich แต่ชื่อนี้ก็ยังใช้ต่อเนื่องมาอย่างเป็นทางการจนถึง พ.ศ. 2486 โดยเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของทั้งสาธารณรัฐไวมาร์และนาซีเยอรมนี ดังนั้นมันจึงไม่ได้หมายถึงเฉพาะเยอรมนีในช่วงการปกครองโดยจักรพรรดิ

              บางครั้งคำว่า จักรวรรดิที่สอง (
อังกฤษ: Second Reich) ก็ถูกใช้เพื่อเรียกช่วงเวลาดังกล่าว โดยในกรณีนี้ "จักรวรรดิที่หนึ่ง" จะหมายถึง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ "จักรวรรดิที่สาม" จะหมายถึง ประเทศเยอรมนีในช่วงที่ปกครองโดยนาซี

              ในช่วง 47 ปีของการดำรงอยู่ จักรวรรดิเยอรมันกลายเป็นหนึ่งในประเทศอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลกและอำนาจที่ยิ่งใหญ่ต่อไปจนกว่าจะถูกยุบจักรวรริหลังจากพ่ายแพ้ทางทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันและการปฏิวัติพฤศจิกายน ที่สำคัญที่สุดคือรัฐที่มีพรมแดนติดจักรวรรดิรัสเซียในภาคตะวันออกฝรั่งเศสในตะวันตกและจักรวรรดิออสเตรียฮังการีในภาคใต้

               จักรวรรดิเยอรมันแบ่งเขตปกครองเป็นจำนวน 26 เขตพื้นที่ตกเป็น (รวมแคว้น
อัลซาส-ลอแรน์ด้วย) แต่ราชอาณาจักรปรัสเซียมีประชากรมากที่สุดและที่สุดของพื้นที่ในเขตปกครองของจักรวรรดิเยอรมัน

                                                   

                                                                             ธงชาติ

                                                                             
                                                                          ตราแผ่นดิน

การก่อตั้งจักรวรรดิโดยบิสมาร์ก



                                                          

                      บิสมาร์กได้สถาปณาจักรวรรดิเยอรมันขึ้นจากชนะสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียที่พระราชวังแวร์ซาย



               ชาตินิยมเยอรมันเป็นไปอย่างรวดเร็วเปลี่ยนจากตัวระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยใน 1848 หรือที่เรียกว่า ลัทธิแพนเยอรมัน ที่ ราชอาณาจักรปรัสเซียนำโดย นายกรัฐมนตรี ออตโต ฟอน บิสมาร์ก บิสมาร์กได้พยายามขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันรวมทั้งได้ทำให้ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นมีอำนาจครอบคลุมทั่วเยอรมัน และได้พยายามกำจัดจักรวรรดิรัสเซียที่พยายามแผ่ขยายอำนาจเช่นกัน ทั้งหมดทำให้เขามองเห็นภาพอนุรักษนิยมครองแคว้นปรัสเซีย-เยอรมนี

               การทำสงครามสามครั้งนำไปสู่ความสำเร็จทางการทหารและช่วยในการชักชวนคนเยอรมันจะทำเช่นนี้ : สงครามปรัสเซียเดนมาร์ก, สงครามและเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการทั้งหมดของกิจการของรัฐนั้นในทางปฏิบัติรัฐเลขานุการ (เจ้าหน้าที่ราชการที่รับผิดชอบด้านบนของเขตข้อมูลเช่นการเงินการสงครามการต่างประเทศ ฯลฯ ) ทำหน้าที่เป็นทางการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพอร์ตโฟลิโอไรช์สต๊าก มีอำนาจที่จะผ่านการแก้ไขหรือปฏิเสธตั๋วเงินและเพื่อเริ่มต้นการออกกฎหมายแม้ว่าในนามของการรวมเป็นจักรวรรดิเท่ากับในทางปฏิบัติแบบอาณาจักรได้ครอบงำโดยรัฐที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด,ทั้งๆที่ปรัสเซียขยายอาณาเขตทั่วทางเหนือของจักรวรรดิใหม่ และได้ลงประชามติที่อยู่ 3/5 ของประชากรของทั้งหมดในจักรวรรดิ มงกุฎของจักรพรรดิเยอรมันได้รับพระราชอำนาจในการปกครองจักรวรรดิอย่างเต็มที่ตามแผนการสนับสนุนราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น ซึ่งต่างจากปี 1872-1873 และ 1892-1894,คณะมนตรีมีอำนาจเท่าเทียมกับกันนายกฯ ของปรัสเซีย ด้วย 17 จาก 58 คะแนนในบุนเดสราสต์,เบอร์ลินจำเป็นเพียงไม่กี่คะแนนเสียงจากรัฐเล็ก ๆ ที่จะใช้การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ
               ปรัสเซียออสเตรีย กับ จักรวรรดิออสเตรีย ใน 1866, และ สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือที่เรียกว่าสงครามฝรั่งเศสเยอรมันในประเทศเยอรมนีกับ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ใน 1870-1871 ระหว่าง การปิดล้อมกรุงปารีส ใน 1871, ภาคเหนือของประเทศเยอรมัน, การสนับสนุนจากพันธมิตรเยอรมันจาก นอกของสมาพันธ์ (ไม่รวมประเทศออสเตรีย)หลังจากที่เยอรมันได้ชัยชนะจากสงครามทั้งสาม จักรพรรดิวิลเฮล์มที่หนึ่งก็ได้ประกาศจักรวรรดิเยอรมันและตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิเยอรมันขึ้นพระราชวังแวร์ซาย

บิสมาร์กได้วางรากฐาน

               รัฐธรรมนูญสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ ซึ่งทำขึ้นในปี 1866 ซึ่งในปี 1871 ได้กลายมาเป็นรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิเยอรมัน มีการปรับเปลี่ยนบางส่วน เยอรมนีที่ได้มาบางคุณสมบัติซึ่งเป็นประชาธิปไตย จักรวรรดิใหม่มีรัฐสภาที่มีสองข้างคือ สภาผู้แทนราษฎรหรือ สภาไรช์สต๊าก ได้รับเลือกโดยสิทธิในการออกเสียงสิทธิในการออกเสียงสากลแต่วาดในเขตเลือกตั้งเดิม 1871 ไม่เคยมีการปฏิรูปเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของเขตเมือง เป็นผลให้ตามเวลาของการขยายตัวที่ดีในเมืองที่เยอรมันในปี 1890

                ทางด้านกฎหมายของจักรวรรดินั้นยังต้องรับความยินยอมจาก บุนเดสราสต์หรือสภาล่าง, สภารัฐบาลกลางต้องแยกจากรัฐ อำนาจบริหารได้ตกเป็นของจักรพรรดิหรือไกเซอร์ (Caesar) ซึ่งเป็นความช่วยเหลือจากอธิการบดีรับผิดชอบเฉพาะกับเขา สมเด็จพระจักรพรรดิได้รับอำนาจอย่างกว้างขวางโดยรัฐธรรมนูญ ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนเดียวและออกเป็นผู้ชี้ขาดผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเป็นหัวหน้าของกองกำลังติดอาวุธและสุดท้ายการต่างประเทศทั้งหมด อย่างเป็นทางการ, อธิการบดีเป็นตู้คนเดียวและเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการทั้งหมดของกิจการของรัฐนั้นในทางปฏิบัติรัฐเลขานุการ (เจ้าหน้าที่ราชการที่รับผิดชอบด้านบนของเขตข้อมูลเช่นการเงินการสงครามการต่างประเทศ ฯลฯ ) ทำหน้าที่เป็นทางการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพอร์ตโฟลิโอไรช์สต๊าก มีอำนาจที่จะผ่านการแก้ไขหรือปฏิเสธตั๋วเงินและเพื่อเริ่มต้นการออกกฎหมาย                 แม้ว่าในนามของการรวมเป็นจักรวรรดิเท่ากับในทางปฏิบัติแบบอาณาจักรได้ครอบงำโดยรัฐที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด,ทั้งๆที่ปรัสเซียขยายอาณาเขตทั่วทางเหนือของจักรวรรดิใหม่ และได้ลงประชามติที่อยู่ 3/5 ของประชากรของทั้งหมดในจักรวรรดิ มงกุฎของจักรพรรดิเยอรมันได้รับพระราชอำนาจในการปกครองจักรวรรดิอย่างเต็มที่ตามแผนการสนับสนุนราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น ซึ่งต่างจากปี 1872-1873 และ 1892-1894,คณะมนตรีมีอำนาจเท่าเทียมกับกันนายกฯ ของปรัสเซีย ด้วย 17 จาก 58 คะแนนในบุนเดสราสต์,เบอร์ลินจำเป็นเพียงไม่กี่คะแนนเสียงจากรัฐเล็ก ๆ ที่จะใช้การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

ยุคบิสมาร์ก

                                                      

                                                                              ออตโต ฟอน บิสมาร์ก





              บิสมาร์กได้ประกาศนโยบายภายในประเทศมีบทบาทอย่างมากในการปลอมและวัฒนธรรมทางการเมืองของเผด็จการจักรวรรดินิยม หมกมุ่นหักด้วยอำนาจการเมืองดังต่อไปนี้การรวมกันในทวีป 1871 รัฐบาลกึ่งรัฐสภาของเยอรมันดำเนินการปฏิวัติทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ค่อนข้างเรียบจากข้างต้นที่ผลักดันให้พวกเขาไปพร้อมกันสู่การเป็นกำลังอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก

นโยบายต่างประเทศ

              ก่อนปี 1871 บิสมาร์กของนโยบายต่างประเทศได้ระมัดระวังและพยายามรักษาความสมดุลของพลังงานในยุโรป ความกังวลที่ใหญ่ที่สุดของเขาคือฝรั่งเศสซึ่งถูกทิ้งพ่ายแพ้และไม่พอใจหลังจาก เป็นภาษาฝรั่งเศสขาดความแข็งแรงให้กับความพ่ายแพ้เยอรมันด้วยตัวเองที่พวกเขาแสวงหาพันธมิตรกับรัสเซียซึ่งจะดักระหว่างสองประเทศเยอรมนีในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (ตามที่ในที่สุดจะเกิดขึ้นในปี 1914) บิสมาร์กต้องการที่จะป้องกันไม่ให้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดและรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียและพันธมิตรจึงเกิดขึ้นกับพวกเขาและออสเตรีย - ฮังการี (ซึ่งโดย 1880s นั้นมีการลดลงอย่างช้าๆไปยังดาวเทียมเยอรมัน), Dreikaiserbund (สามจักรพรรดิ) ในช่วงเวลานี้บุคคลภายในทหารเยอรมันได้สนับสนุนการนัดหยุดงานซึ่งยึดเอาเสียก่อนกับรัสเซีย แต่บิสมาร์กรู้ว่าความคิดดังกล่าวเป็นบ้าบิ่น เขาเคยเขียนว่า"ยอดเยี่ยมที่สุดชัยชนะจะไม่ได้ประโยชน์กับประเทศรัสเซียเนื่องจากสภาพภูมิอากาศทะเลทรายของมัน, และความประหยัดของตนและมี แต่คนชายแดนเพื่อป้องกัน"และเพราะมันจะออกจากประเทศเยอรมันกับอีกขมเพื่อนบ้านไม่พอใจ, บิสมาร์กความยากลำบากครั้งเดียวขัดนโยบายต่างประเทศของประเทศของเขากับสถานการณ์ได้ง่ายของเรา (เฉพาะอำนาจที่แข็งแกร่งในซีกโลกตะวันตก) ว่า ชาวอเมริกันเป็นคนโชคดีมาก.พวกเขากำลังล้อมรอบไปทางทิศเหนือและทิศใต้โดยเพื่อนบ้านอ่อนแอและ ไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกโดยปลา.

             ขณะที่นายกฯ ยังคงระมัดระวังการใด ๆ การพัฒนานโยบายต่างประเทศที่ดูได้จากระยะไกลเพื่อการสงคราม ใน 1886 เขาได้ย้ายไปหยุดการขายพยายามของม้าไปฝรั่งเศสในบริเวณที่พวกเขาอาจจะมีการใช้กองทหารม้าและยังสั่งให้สอบสวนในการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ของรัสเซียยาจากสารเคมีเยอรมันงาน บิสมาร์กตะแบงปฏิเสธที่จะรับฟังจอร์จเฮอร์เบิร์ zu Munster (ทูตไปยังประเทศฝรั่งเศส) ซึ่งรายงานกลับมาที่ฝรั่งเศสไม่ได้แสวงหาสงคราม revanchist, และในความเป็นจริงได้หมดหวังสำหรับสันติสุขที่ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

             บิสมาร์กและส่วนมากของโคตรของเขาถูกอนุรักษนิยมซึ่งมีจิตใจและมุ่งเน้นความสนใจนโยบายของพวกเขาต่างประเทศในประเทศเพื่อนบ้านของเยอรมัน ในปี 1914, 60% ของเงินลงทุนต่างประเทศเป็นภาษาเยอรมันในยุโรปต่างไปเพียง 5% ของเงินลงทุนของอังกฤษ ส่วนใหญ่เงินไปพัฒนาประเทศเช่นรัสเซียที่ขาดเงินทุนหรือความรู้ทางเทคนิคในการทำให้เป็นอุตสาหกรรมด้วยตัวเอง ก่อสร้าง
แบกแดดรถไฟ, การเงินโดยธนาคารเยอรมันถูกออกแบบมาเพื่อที่สุดเชื่อมต่อกับจักรวรรดิเยอรมนีตุรกีและ อ่าวเปอร์เซีย แต่ก็ยังชนกันที่มีความสนใจภูมิศาสตร์การเมืองอังกฤษและรัสเซีย

 

อาณานิคม

             บิสมาร์กมีหลักประกันจำนวนทรัพย์สินอาณานิคมเยอรมันระหว่าง 1880s ในแอฟริกาและแปซิฟิก แต่เขาไม่เคยเห็นค่ามากในอาณาจักรอาณานิคมต่างประเทศอาณานิคมของเยอรมันยังไม่ได้พัฒนายังคงไม่ดี แต่พวกเขาตื่นเต้นดอกเบี้ยของศาสนาซึ่งมีจิตใจที่ได้รับการสนับสนุนเครือข่ายที่กว้างขวางของมิชชันนารี

            ชาวเยอรมันมีความฝันของจักรวรรดินิยมในยุคอาณานิคมตั้งแต่ 1848 ตาม 1890s, การขยายอาณานิคมของเยอรมันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (
Kiauchau ในประเทศจีน Marianas, Caroline หมู่เกาะ, ซามัว) นำไปสู่การ frictions กับอังกฤษ, รัสเซีย, ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่ที่สุดในสถานประกอบการอยู่ในอาณานิคมแอฟริกา เน้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจไมเคิล Perraudin และ Jürgen Zimmerer, EDS เยอรมันอาณานิคมและเอกลักษณ์ของชาติ (2010) มุ่งเน้นที่ผลกระทบทางวัฒนธรรมในทวีปแอฟริกาและประเทศเยอรมนี.

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99









สงครามฝิ่น

              สงครามฝิ่น (จีนตัวเต็ม: 鴉片戰爭; จีนตัวย่อ: 鸦片战争; พินอิน: Yāpiàn Zhànzhēng ยาเพี่ยนจ้านเจิง; อังกฤษ: Opium Wars) ฝิ่นเป็นยาเสพย์ติดที่ชาวจีนติดกันอย่างงอมแงมและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน


เริ่มกระบวนการปราบปรามฝิ่น

               หลินเจ๋อสวีเริ่มงานด้วยการห้ามค้าฝิ่นในมณฑลกวางตุ้ง และจับพ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดไปคุมตัวในเรือนจำ ใครที่มีหลักฐานว่าค้าฝิ่นจะต้องถูกประหาร และตัดศีรษะเสียบประจาน เพื่อข่มขู่ชาวจีนอื่น ๆ ให้เกรงกลัวจะได้ไม่กล้าค้าฝิ่นอีก นอกจากปราบปรามการค้าฝิ่นในหมู่ชาวจีน หลินเจ๋อสวี ยังได้พยายามฟื้นฟูสุขภาพชาวจีนที่ติดฝิ่น โดยจัดโครงการรณรงค์การอดฝิ่น มีชาวจีนหลายคนที่อดฝิ่นได้สำเร็จ ทางการก็จะประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้คนอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่างอันดีที่จะพยายามเลิกฝิ่นให้ได้ จากนั้นหลินเจ๋อสวีก็สั่งห้ามเรือพ่อค้าต่างชาติที่บรรทุกฝิ่นเข้ามาในอาณาจักรจีน โดยห้ามเรือล่องเข้าแม่น้ำจูเจียงมาเป็นเด็ดขาด และประกาศให้พ่อค้าต่างชาติที่มีฝิ่นในครอบครอง ต้องนำฝิ่นมาส่งมอบให้ทางการจีน แต่พ่อค้าชาวต่างชาติไม่สนใจคำสั่งของหลินเจ๋อสวี ยังคงค้าฝิ่นต่อไป หลินเจ๋อสวีจึงสั่งปิดล้อมย่านการค้าของคนต่างชาติใน และบีบให้พ่อค้าต่างชาติส่งฝิ่นให้ทางการจีน หลังจากปิดล้อมอยู่สองวัน พวกพ่อค้าต่างชาติก็ยอมมอบฝิ่นออกมาในที่สุด ฝิ่นที่ยึดได้ครั้งนี้ หลินสั่งให้เอาฝิ่นทั้งหมดไปละลายกับกรดน้ำส้มกับเกลือและน้ำ เพื่อฆ่าฤทธิ์ของฝิ่น แล้วก็โยนทิ้งทะเลไปจนหมดสิ้น ผลจากการปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจังของหลินเจ๋อสวี ทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าอังกฤษที่มีผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นมหาศาลไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะฝิ่นที่หลินเจ๋อสวีทำลายไปมีจำนวนมหาศาลถึง 20,000 ลัง คิดเป็นน้ำหนักสองล้านปอนด์ครึ่ง และเนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าที่มีค่าสูง จึงยังมีพ่อค้าต่างชาติทั้งชาวอังกฤษและโปรตุเกส ยังคงลอบค้าฝิ่น แต่เปลี่ยนฐานการค้าจากตัวแผ่นดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ไปอยู่ที่มาเก๊า และเกาะฮ่องกง ซึ่งมีทำเลดีกว่าแทน


                                                        




Second Opium War-guangzhou.jpg

                                                การปะทะที่กว่างโจวระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง



สงครามปะทุ

               การกระทบกระทั่งระหว่างจีนกับอังกฤษยังคงมีต่อมา เมื่อชาวจีนถูกกะลาสีเรือชาวอังกฤษฆ่าตายที่เกาลูน หลินเจ๋อสวีให้ทางอังกฤษส่งตัวกะลาสีที่ก่อเหตุมารับโทษตามกฎหมายจีน แต่กัปตันเอลเลียตของอังกฤษปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ผลจากการกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ ทำให้หลินเจ๋อสวีขับไล่ชาวอังกฤษทั้งหมดออกจากมาเก๊า แต่พ่อค้าเหล่านี้ก็ไปตั้งหลักที่ฮ่องกงแทน กัปตันเอลเลียต ขอความช่วยเหลือไปทางรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในยุคของ
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นยุคสมัยของการล่าอาณานิคม ถือเป็นเหตุในการทำสงครามกับจีน โดยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยสั่งให้บริษัทอีสต์อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลอังกฤษ ส่งกองเรือไปช่วยที่ฮ่องกง เมื่อกองเรือรบกองแรกมาถึงซึ่งประกอบไปด้วยเรือปืนจำนวน 28 ลำ หลินเจ๋อสวีไม่เคยมีประสบการณ์กับการรบกับอาวุธที่ทันสมัยเช่นนี้ จึงถูกโจมตีจนกองเรือจีนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว หนำซ้ำพวกขุนพลของจีนที่สู้แพ้อังกฤษ ยังไม่กล้ารายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้หลินเจ๋อสวีเข้าใจผิดว่ากองเรือของจีนเอาชนะกองเรืออังกฤษได้ จึงถวายรายงานกับพระจักรพรรดิเต้ากวงว่า จีนได้รับชัยชนะ และยิ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อพวกอังกฤษยิ่งขึ้น ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ฝ่ายกองเรือรบอังกฤษก็บุกเข้าปากแม่น้ำจูเจียง และยึดเมืองกวางซูเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งเคลื่อนกองเรือรุกเข้ามาในแผ่นดินจีนขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังส่งกองเรือจำนวนหนึ่งไปยึดเมืองท่าริมทะเลเอาไว้ด้วย ความทราบถึงพระจักรพรรดิเต้ากวง จึงทรงตำหนิหลินเจ๋อสวีอย่างรุนแรง และปลดหลินเจ๋อสวีจากตำแหน่งทั้งหมด เนรเทศไปยังซินเจียง และส่งแม่ทัพฉีซานมาแทน ฉีซานไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของอังกฤษได้

                                                      

                                           ภาพวาดเรือรบจีนถูกทำลายในสงครามฝิ่นครั้งแรก (พ.ศ. 2382 - พ.ศ. 2385) 


ผลลัพธ์

              ในปี
พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ จนกระทั่งในที่สุดจำเป็นต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ ที่เมืองนานกิงนั่นเอง และยอมเซ็นสนธิสัญญาที่ชาวจีนถือว่าอัปยศที่สุด ที่เรียกว่าสนธิสัญญานานกิงในปีเดียวกันนั้น เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้ อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายกับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีน คนที่ถือสัญชาติอังกฤษ จะไม่ต้องขึ้นศาลจีน รวมทั้งสิทธิใด ๆ ที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่น ๆ ก็ต้องได้ด้วย แม้ว่าเนื้อหาของสนธิสัญญานี้ จีนต้องเสียเปรียบอังกฤษเป็นอย่างมาก แต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญาเพื่อยุติสงครามที่จีนเสียเปรียบอย่างเทียบไม่ติด ต่อมาจีนก็สูญเสียเอกราชบนคาบสมุทร เกาลูนไปอีก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามสนธิสัญญาปักกิ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง (咸丰) ปีที่ 10 และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) ตรงกับรัชกาลจักรพรรดิกวังซวี่ (光緒帝) ปีที่ 24 สูญเสียพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) ให้กับสหราชอาณาจักรในสัญญาเช่า 99 ปี นับแต่นั้น เซินเจิ้นและฮ่องกงก็ถูกแบ่งแยกการปกครองออกจากกัน และภายใน พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) คนจีนกว่า 13 ล้านคน ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและราชวงศ์ชิงก็ตกอยู่ในภาวะแห่งการล่มสลาย

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99










วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

สหภาพโซเวียต



สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; อังกฤษ: The Union of Soviet Socialist Republics - USSR) นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) อยู่มาจนกระทั่งล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)

การก่อตัวของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อ
การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ถึงจุดสูงสุด โค่นล้มการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของกลุ่มบอลเชวิค (ต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) เมื่อปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) องค์กรทางการเมืองที่ปกครองประเทศมีพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพแดงได้ทำลายกองทัพนาซีจนย่อยยับ และยึดครองกรุงเบอร์ลินได้แล้ว สหภาพโซเวียตได้ทำการก่อตั้งรัฐสังคมนิยมในประเทศที่โซเวียตยึดครองจาก
ฝ่ายนาซีในแนวรบด้านตะวันออก จนเกิดเป็นโลกตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งขั้วมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น

เขตแดนของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงเสมอ ก่อน
การล่มสลายมีเขตแดนอยู่ในแนวใกล้เคียงกับปลายยุคจักรวรรดิรัสเซีย ไม่รวมประเทศโปแลนด์ ฟินแลนด์ และรัฐอะแลสกา โดยมีอาณาเขตติดต่อกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังมีพรมแดนทางทะเลใกล้กับรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาด้วย


                                                       
                                                                           ธงชาติ

                                                                           
                                                                          ตราแผ่นดิน


ประเทศที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายเมื่อปี ค.ศ. 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือรัฐเอกราช Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย
 
             1.  ประเทศเอสโตเนีย
             2.  ประเทศลัตเวีย
             3.  ประเทศลิทัวเนีย
             4.  ประเทศเบลารุส
             5.  ประเทศยูเครน
             6.  ประเทศรัสเซีย
             8.  ประเทศอาร์เมเนีย
             9.  ประเทศอาเซอร์ไบจาน
           10.  ประเทศคาซัคสถาน
           11.  ประเทศคีร์กีซสถาน
           12.  ประเทศมอลโดวา
           13.  ประเทศทาจิกิสถาน
           14.  ประเทศเติร์กเมนิสถาน
           15.  ประเทศอุซเบกิสถาน
           16.  ประเทศจอร์เจีย



ประวัติศาสตร์

                                                       
                         
                                             วลาดิมีร์ เลนินผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917
 

 


การปฏิวัติรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียต

               สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1922-1953)
 
              นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลายๆคนซึ่งเคยร่วมกับเลนินในการทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย

              ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ

              ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับ
นาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต

               แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่
กองทัพแดง ขาดผู้นำทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่ นาเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่างๆที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น

              ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ซ่อมแซมบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแผ่ขยายอำนาจและก่อตั้ง
รัฐบริวารในยุโรบตะวันออก ต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (Comecon) ในปีค.ศ. 1949 และสถาปนาสนธิสัญญาวอร์ซอในปี ค.ศ. 1955 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการเริ่มตันของสงครามเย็นอย่างแท้จริง ซึ่งเปลี่ยนประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต


ยุคครุสชอฟ (ค.ศ. 1953-1964)
               สตาลิน ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 โดยไม่มีการแต่งตั้งทายาททางการเมือง นิกิตา ครุสชอฟ ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นเลขานุการคนที่ 1 ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Communist Party of the Soviet Union) ซึ่งเปรียบเสมือนตำแหน่งผู้นำของประเทศ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1956 เขาก็ทำให้โลกตะลึงด้วยการด้วยการประณามความเลวร้ายของสตาลิน ผู้ทำการปฏิวัติระบบนารวม (Commune) ให้ทรัพย์สินของทุกคนเป็นของส่วนรวม และนำสหภาพโซเวียตทำ สงครามเย็น กับสหรัฐอเมริกา

               ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1950 เกิด
การแตกแยกระหว่างจีนกับโซเวียต ในเรื่องของอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ เนื่องจากจีน โดย เหมา เจ๋อตง ไม่เห็นด้วยกับการยอมรับระบบทุนของโซเวียต และเห็นว่าควรรักษาแนวคิดระบบนารวมเอาไว้ การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และ โซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต

               ในช่วงเวลานี้ของสหภาพโซเวียตดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดตัวดาวเทียมเทียมดวงแรกของโลก
สปุตนิก 1 ส่งสุนัขไลก้าขึ้นสู่อวกาศ มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศคือ ยูริ กาการิน ในปี ค.ศ. 1963 ส่งผู้หญิงคนแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศคือ วาเลนตีนา เตเรชโควา ในปี ค.ศ.1965 ส่ง อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ รวมทั้งส่งโรเวอร์คันแรกไปยังดวงจันทร์ ได้แก่ Lunokhod 1 และ Lunokhod 2

               แม้ครุสชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจในปี ค.ศ. 1964

ยุคเบรจเนฟ (ค.ศ. 1964-1982)              ในเดือน ตุลาคม ปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ โคชิกิน ได้เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจจากครุสชอฟ โดยครุสชอฟถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง
              เบรจเนฟ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี โดยมีนายโคซิกิน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วม เบรจเนฟ-โคชิกิน การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีลักษณะผ่อนคลาย มีการดำเนินการเจรจาการจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (SALT I,SALT II) ในปี ค.ศ.1972และ ค.ศ.1979 ตามลำดับ มีการดำเนินการเจรจาเพื่อความร่วมมือกันในยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ในปี ค.ศ. 1975 มีการประกาศใช้ หลักการของเบรจเนฟ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1968 เพื่อยืนยันสิทธิและพันธกิจของสหภาพโซเวียต ในการพิทักษ์ความปลอดภัยแก่ลัทธิสังคมนิยม

               ในด้านการบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์
เบรจเนฟได้ตั้งกฎการเปลี่ยนตัวบุคคลจากภายในโปลิตบูโรขึ้นมาใหม่โดยการจัดให้มีการเปลี่ยนบุคคลต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านสมัชชา แต่ผ่านแค่คณะกรรมการกลางพรรคเท่านั้น ซึ่งตามธรรมนูญของพรรคแล้วถือว่าสมัชชาพรรคเป็นองค์กรสูงสุดของพรรค ที่สามารถดำเนินเป็นอิสระจากฝ่ายผู้นำได้ ที่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตประกอบด้วยสมาชิกถาวรทั้ง 14 คน กับสมาชิกสมทบทั้ง 10 คนของโปลิตบูโร

               เบรจเนฟ ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ด้วยความสงบ โดยมี แอนโดรปอฟ ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ใน วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ยูริ วี แอนโดรปอฟ นั่งในตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้ไม่นานก็ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 กอนสตันติน ยู เชอร์เนนโก (Constantine U. Chernenko) ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 และเพียงหนึ่งปีก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1985



การปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985-1991)

                                                       
 

                                                                    มิคาอิล กอร์บาชอฟ


                                                       




           

                       บอริส เยลซิน ยืนท้าทายคณะรัฐประหารอยู่ด้านหน้ารัฐสภา วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991




               เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสรเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง

              ต่อมา ในวันที่
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ

              การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า
การรัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์


อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95